วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

การควบคุมสารตั้งต้นที่ผลิตยาเสพติด ยาบ้า ยาอี เฮโรอีน

การควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ในการลักลอบผลิตยาเสพติด เป็นแนวทางการดำเนินงานตามที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน เพื่อเอาชนะยาเสพติด เป็นการดำเนินงานเพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีไปสู่ขบวนการลักลอบผลิต
ยาเสพติด  อาทิ ยาบ้า ยาอี เฮโรอีน เป็นต้น ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ในปริมาณมาก เพื่อใช้ในขบวนการลักลอบผลิต ยาเสพติด ดังกล่าว เคมีภัณฑ์บางชนิดมีการใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมที่ถูกกฎหมายอย่างแพร่หลาย ซึ่งก็สามารถนำไปใช้ในการลักลอบผลิตยาเสพติดได้เช่นกัน ดังนั้น มาตรการควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์จะต้องดำเนินงานอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการรั่วไหลไปสู่การผลิต
ยาเสพติด ที่ผิดกฎหมาย และจะต้องไม่มีผลกระทบ หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด กับภาคอุตสาหกรรมที่ถูกกฎหมาย
      การควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการค้ายาเสพติด ให้โทษ และวัตถุออกฤทธิ์ที่ผิดกฎหมาย ค.ศ.1988 ในมาตรา 12 กล่าวถึงสารเคมีที่นิยมใช้ในการลักลอบผลิตวัตถุเสพติด กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารเคมี ตามที่ระบุไว้ 23 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ตาราง (Table) ตาราง 1 หมายถึงสารตั้งต้น และตาราง 2 หมายถึงเคมีภัณฑ์จำเป็น โดยสารเคมีในตาราง 1 เป็นสารตั้งต้นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตวัตถุเสพติด จะมีมาตรการควบคุมเข้มงวดกว่าสารเคมีในตาราง 2 มีรายชื่อสารเคมีที่ควบคุม ดังต่อไปนี้
ตาราง 1
ตาราง 2
- อาเซติค แอนไฮไดรด์  ACETIC ANHYDRIDE- อาเซโตน  ACETONE
- เอ็น-อาเซติลแอนทรานิลิค อาซิด N-ACETYLANTHRANILIC ACID - แอนทรานิลิค อาซิด  ANTHRANILIC ACID
- อีเฟดรีน   EPHEDRINE- เอทิล อีเทอร์ ETHYL ETHER
- เออร์โกโนวีน ERGONOVINE- ไฮโดรคลอริค อาซิด HYDROCHLORIC ACID
- เออร์โกตามีน  ERGOTAMINE- เมทิลเอทิลคีโตน METHYL ETHYL KETONE
- ไอโซซาฟรอล  ISOSAFROLE- เฟนิลอาเซติค อาซิด PHENYLACETIC ACID
- ไลเซอร์จิค อาซิด  LYSERGIC ACID- ไพเพอริดีน PIPERIDINE
- 3,4-เมทิลลีนไดออกซีเฟนิล-2-โปรปาโนน  3,4-METHYLENEDIOXYPHENYL-2-PROPANONE- ซัลฟูริค อาซิด SULFURIC ACID
- นอร์อีเฟดรีน  NOREPHEDRINE- โทลูอีน TOLUENE
- 1-เฟนิล-2-โปรปาโนน  1-PHENYL-2-PROPANONE
- ไพเพอโรนอล  PIPERONAL
- โพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนต POTASSIUM PERMANGANATE
- ซูโดอีเฟดรีน  PSEUDOEPHEDRINE
- ซาฟรอล  SAFROLE
 สารเคมีที่ประเทศไทยมีการควบคุมนอกเหนือจากสารเคมีที่ควบคุมตามตาราง 1 และ ตาราง 2 ของอนุสัญญาฯ ค.ศ. 1988
      กรดอาเซติก Acetic acid
     
อาซีโตไนไตรล์ Acetonitrile
     
อาเซติล คลอไรด์ Acetyl chloride
      อัลลิลเบนซีน Allylbenzene
      แอมโมเนียมคลอไรด์ Ammonuim chloride
      แอมโมเนียมฟอร์เมท Ammonium formate
      แอมโมเนียม ไฮดรอกไซด์ Ammonium hydroxide
      เบนซีน Benzene
      เบนซาลดีไฮด์ Benzyldehyde
      เบนซิลคลอไรด์ Benzyl chloride
      เบนซิลไซยาไนด์ Benzyl cyanide
      เอ็น-บิวทิล อาเซเตด N-Butyl acetate
      เอ็น-บิวทิล แอลกอฮอล์ N-Butyl alcohol
      เซค-บิวทิล แอลกอฮอล์ sec-Butyl alcohol
      กาเฟอีน Caffeine
      แคลเซียมคาร์บอเนต Calcium carbonate
      คลอโรฟอร์ม Chloroform
      โคเดอีน Codeine  (เป็นสารที่ใช้ในการผลิต ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3)
      ไซโคลเฮกเซน Cyclohexane
      เอทิล อาเซเตด Ethyl acetate
      เอทธิลอะมีน Ethylamine
      เอทิลิดีน ไดอาเซเตต Ethylidine diacetate
      ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ Hydrogen peroxide
      เมทิลลีน คลอไรด์ Methylene chloride
      เมทิล ไอโซบิวทิล คีโตน Methyl isobutyl ketone
      ฟอสฟอรัส เพนตะคลอไรด์ Phosphorous pentachloride
     
ฟอสฟอรัส ไตรคลอไรด์ Phosphorous trichloride
      โพแทสเซียม ไซยาไนด์ Potassium cyanide
      โซเดียม ไซยาไนด์ Sodium cyanide
      โซเดียม ไฮดรอกไซด์ Sodium hydroxide
      โซเดียม ไฮโปคลอไรท์ Sodium hypochlorite
      ไธโอนิล คลอไรด์ Thionyl chloride
      ไตรคลอโรเอทธิลีน Trichloroethylene
   
    สารเคมีที่ต้องเฝ้าระวังตามปฎิญญาเชียงราย 2003 (Chiang Rai Declaration)  
     1. ซัลฟูริค อาซิด Sulfuric acid
     2. โทลูอีน Toluene
     3. อาเซโตน Acetone
     4. ไฮโดรคลอริค อาซิด Hydrochloric acid
ที่มา : กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักคณะกรรมการอาหารและยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น